วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิ งถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสที่ว่า

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด

พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้
โรงเรียนจิตรลดา
โรงเรียนราชวินิต
โรงเรียนวังไกลกังวล
โรงเรียนราชประชาสมาสัย
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท
โรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
ทุนการศึกษาพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้
ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้ง
มูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ทุนเล่าเรียนหลวง
ทุนมูลนิธิภูมิพล
ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
ทุนนวฤกษ์
ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี


พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้าน
สุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลาย

โครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์


หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของ
สมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


เพื่อนที่ชอบพิมพ์เร็ว ๆ อ่านทางนี้(ขำ ขำ)

เพื่อนที่ชอบพิมพ์เร็ว ๆ อ่านทางนี้..นี่แน่ะ พิมพ์เร็ว แถมไม่ยอมตรวจทาน อาจจะเป็นแบบนี้...• " ลูกชายผมสองขวบมีไข่สูงมากให้กินพาราได้ไหม ขอคำตอบด่วนครับ" • " แฟนเป็นคนเสียวดังมากครับ ผมอายคนอื่นเค้า ผมจะเตือนเธอยังไงดีครับ" • " กลุ้มใจจัง แฟนเราเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่ค่อยจะอมใครง่าย ๆ" • " มีพี่ที่ทำงานคนนึงเพิ่งเข้ามาทำงาน เธอเป็นลูกน้องผมแต่อายุแก่กว่าผมมาก ผมจะสอยเธอยังไงดีครับถึงจะไม่น่าเกลียด" • " สามีมีปัญหาในการนอนค่ะเค้าชอบนอนหนุนหมอย นิ่ม ๆ ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ พอจะรู้จักยี่ห้อดี ๆ มั้ยคะ" • " ถ้าง่วงก็ลองเคี้ยวหมาฝรั่งดูสิคะเผื่อจะหาย" • " ถ้าพิจารณาความเสี่ยวแล้วคาดว่าคุ้มถ้าลงทุนต่อไป" • " เดือนหน้าดิฉันจะมีเพื่อนฝรั่งมาเที่ยวเมืองไทย เค้าชอบช้างมากค่ะ ช่วยแนะนำทัวร์ที่มีโปรแกรมขี้ช้างให้หน่อยได้มั้ยคะ" • " เจอรูแฟนเก่าในโทรศัพท์มือถือแฟน หมายความว่ายังงัย" • " อยากไปเที่ยวท้องฟ้าจำลอง ที่ปิดไฟมืด ๆ แล้วฉายภาพดาวน่ะค่ะไม่ทราบว่าเข้าชมฟรีรึต้องเสียตัวด้วยรึป่าวคะ" • " ข่าวดีค่ะปลื้มใจอยากบอก ไปขยายรูแต่งงานมาแล้ว ออกมาสวยมาก ๆ ขนาดแฟนเป็นคนไม่ค่อยพูด ยังออกปากชม ไม่รู้มาก่อนว่าดีแบบนี้" • " พี่ ๆ ครับ ผมจะไปสอบใบขับขี่พรุ่งนี้แต่ผมยังไม่ชำนาญ เรื่องการถอยรถเข้าซ่องเลย ใครพอแนะนำเทคนิคได้บ้างครับ" • " อาจารย์คะ ปีนี้ข้อสอบวิทย์จะเน้นอกเรื่องอะไรคะ หนูจะได้เตรียมตัวมาแต่เนิ่น ๆ" • " ถามเลขาค่ะ พานายฝรั่งไปไหนดีไม่ชอบซิสเลอร์เลย วันก่อนไปกินกับนายฝรั่ง หลายคน สั่งไส้กรอกรวมกินกันแล้วปรากฏว่าบรรยากาศเงียนมาก ๆ" • " ผมมีปัญหากับแฟนใหม่ของเธอครับ ไม่น่าคิดมากเลย แค่โทรเรียกเธอมาเจอเพราะอยากเลียร์ให้มันสบายใจทั้งสองฝ่าย" • " ขอถามหน่อยค่ะ ใบพลูเดี๋ยวนี้หาซื้อได้ที่ไหน คุณยายข้างบ้านกินแต่ หมาเปล่า ๆ มานานแล้ว บอกว่าเคี้ยวไม่อร่อย" • " หนูแอบชอบเค้าอยู่ ทำไงหนูถึงจะได้รูถ่ายของเค้าคะ" • " แถวสี่พระยามีร้านอัดรูดี ๆ มั้ยครับ อ้อ แล้วรูขนาด 4" x 6" นี่จะเล็กไปมั้ยครับ" • " จะไปเชียงใหม่ค่ะหนุ่มคนเมืองที่ไหนพอแนะนำได้บ้างคะ อยากถามว่า ขนมจีนน้ำเจี๊ยวที่ไหนอร่อยบ้าง"
รู้อย่างนี้แล้วก็ระวังกันหน่อยนะ

อันตรายนะ..คนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง ต้องอ่านจ้า!!!

อันตราย...คนที่ชอบกินผักบุ้ง,ผักกระเฉดอันตรายนะ..คนที่ชอบกินผักกระเฉด ผักบุ้ง ต้องอ่านจ้า!!!กระทรวงสาธารณสุขได้เตือนให้ประชาชนระวังการบริโภคผักบุ้งผักกระเฉดที่ไม่ ผ่านการต้มเดือดถึง500 องศาเซลเซียสว่าอาจจะได้รับอันตรายจากศัตรูตัวใหม่ที่เรียกว่า "ไข่ ปลิง"เพราะเจ้าไข่ปลิงตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงมากเพราะฉะนั้นถ้าท่านจะรับประทานผักบุ้ง หรือผักกระเฉดต้องต้มกันเป็นชั่วโมงถึงจะสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยดังนั้นท่านจึงควรรับ ประทานอาหารที่ปรุงด้วยกรรม วิธีอื่นจะดีกว่าประเภทยำเพราะส่วนใหญ่อาหารประเภทยำจะนำไปผ่านความร้อนเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น เอง ก็นำขึ้นมารับประทานแล้วดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายไข่ปลิงได้ถ้าให้ดีควรเลี่ยงไปรับประทานผักชนิดอื่นจะดีกว่าเพราะขั้นตอนในการทำความสะอาดก่อนจะนำมาต้มจะง่ายกว่าการ ทำความสะอาดผักบุ้ งและผักกระเฉดมีนักศึกษาแพทย์ศิริราชเคยไปทานสุกี้ที่ร้านแห่งหนึ่งมีชื่อคล้าย .....ก่อนที่จะนำผักบุ้งใส่ในหม้อต้มน้ำบัง เอิญเธอผู้นั้น!เหลือบไปเห็นเจ้าไข่ปลิงเกาะอยู่ที่ใบของผักบุ้งซึ่งเธอเพิ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายของไข่ปลิงมาจากหลักสูตรซึ่งเธอเพิ่งจะเรียนผ่านมานี้เองดังนั้นเธอจึงตัดสินใจไม่รับประทานผักบุ้งนั้นเลยและเปลี่ยนเป็นสั่งผักชนิดอื่นมารัประทานแทนเมื่อทุกท่านทราบอย่างนี้แล้วท่านก็ตัดสินใจเองก็แล้วกันว่าจะรับประทานผัก บุ้งและผักกระเฉดต่อไปหรือไม่ก็ระวังกันไว้ด้วยนะใครที่ชอบทานผักทั้ง 2 ประเภทต่อไปคงเลิกทาน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ก่อนจะสายเกิน
มีหนุ่มเจ้าสำราญผู้หนึ่ง วันๆไม่ยอมทำประโยชน์อะไร ดีแต่เที่ยวเล่นไปวันๆทั้งๆที่อายุอานามก็สมควรแก่การสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างฐานะและมีครอบครัวแล้ว แต่เขาก็ไม่เคยคิดจะมีความรับผิดชอบไม่คิดอยากจะรับภาระอะไรใดๆทั้งสิ้นด้วยเห็นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่อยู่แล้วที่ต้องหาเงินหาทองไว้ให้ลูกและกิจการที่บ้านนั้น ทั้งพ่อและแม่ต่างช่วยกันทำมาหากินอย่างขยันแข็งจนเงินทองที่มีอยู่ชาตินี้เขาคงใช้ไม่หมดด้วยซ้ำวันหนึ่ง ชายหนุ่มผู้นี้และเพื่อนๆอีก 2-3 คน พากันเข้าป่าหมายจะไปล่าสัตว์ แต่เมื่อเดินเข้าป่าไปได้สักพักใหญ่เขาก็เกิดพลัดหลงกับเพื่อนชายหนุ่มจึงเดินลัดเลาะไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จุดหมาย เขาเริ่มหลงทางเขาเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ก็ต้องหาทางเดินต่อไปเมื่อพระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า บรรยากาศรอบข้างมืดลง ไม่เห็นหนทางเขาจึงทิ้งตัวลงนอน ด้วยความหิวโหยและหมดแรงรุ่งขึ้น..เขายังคงเดินต่อไป เพื่อหาทางออกจนกระทั่งพระอาทิตย์กำลังจะลับเหลี่ยม เขาอีกครั้งแต่ขณะที่เขากำลังจะทิ้งตัวลงอย่างหมดหวัง เขาก็เหลือบไปเห็นแสงไฟจากกระท่อมกลางป่าหลังหนึ่งเขาจึงรวบรวมเรี่ยวแรงที่เหลืออยู่รีบวิ่งไปยังกระท่อมนั้นและได้พบสามี-ภรรยาคู่หนึ่งซึ่งเมื่อไต่ถามความเป็นมาของชายหนุ่มแล้ว ทั้งคู่ก็บอกให้ชายหนุ่มไปอาบน้ำอาบท่า แล้วจัด แจงหาข้าวปลาอาหารมาให้กินคืนนั้นชายหนุ่มจึงหลับไปด้วยความสุขวันรุ่งขึ้น ชายหนุ่มตื่นขึ้นมาด้วยความแจ่มใสและรู้สึกตื้นตันใจในความเมตตากรุณาของสองสามีภรรยาเป็นอย่างมากเขาจึงกล่าวขึ้นว่า“ข้าขอขอบคุณท่านทั้งสองที่ได้ช่วยชีวิตข้าในครั้งนี้แม้เราไม่เคยรู้จักกัน แต่พวกท่านก็ให้การดูแลข้าอย่างดีข้าไม่รู้จะตอบแทนอย่างไร จึงจะทดแทนน้ำใจของพวกท่าน ได้”ฝ่ายภรรยาจึงยิ้มให้อย่างอ่อนโยน แล้วตอบว่า“หนุ่มน้อย ถ้าเจ้าอยากตอบแทนละก็กลับไปทดแทนบุญคุณพ่อแม่ของเจ้าเถิด พวกเขาเลี้ยงดูอุ้มชูเจ้ามาให้ทั้งข้าวปลาอาหารน้ำท่าที่พักพิง จนเติบใหญ่เพียงนี้บุญคุณนั้นใหญ่หลวงนัก เราสองคนแค่ให้ที่พักพิงเจ้าชั่วข้ามคืนหนึ่งเทียบกับพ่อแม่เจ้าไม่ได้หรอก”ได้ฟังดังนั้น ชายหนุ่มจึงคิดได้ว่า เขาเป็นผู้ที่หลงทางจริงๆ.........คนไทยเราได้รับการปลูกฝังและสั่งสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆแล้วว่า“ความกตัญญูกตเวที” นั้นเป็นคุณธรรมสำคัญที่เราควรปฏิบัติต่อพ่อแม่และผู้มีบุญคุณแก่เรา แต่เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยที่มองข้ามพระคุณของพ่อแม่ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ตัวที่สุดโดยคิดว่าสิ่งที่พ่อแม่ทำนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องทำแต่ในขณะที่ผู้อื่นหยิบยื่นน้ำใจให้เพียงเล็กน้อย เราก็ตื้นตันชื่นชม และประทับใจไม่ลืม อย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับผู้ให้กำเนิดเราแล้วหรือจงอย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดีๆที่มีโอกาสตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ผ่านเลยไปโปรดตอบแทนความรักอันยิ่งใหญ่นั้นในทุกๆวันของชีวิตเรา...ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการเรียนรู้ นับเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา เพราะกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ การสอนให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ จนเขาสามารถสรุปเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นได้ เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ความสำเร็จของการจัดการศึกษาอยู่ที่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผมคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง
กระแสแห่งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของไทยในยุคแห่งความเป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาเพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ให้ก้าวทันสังคมโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนั้น คือกระแสของ “การปฏิรูปการศึกษา (Educational Reform)” นั่นเอง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการปรับรื้อระบบบริหารจัดการด้านการศึกษาครั้งสำคัญของสังคมไทย เป็นยุทธศาสตร์ทางภูมิปัญญาเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของระบบการศึกษาของชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางสังคมที่หลากหลายและรุนแรง สามารถพัฒนาการศึกษาให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกในปัจจุบัน
การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่หมักหมมมานานจำเป็นต้องใช้หลักการและวิธีการใหม่ๆ จึงจะแก้ไขได้สำเร็จ จากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) เกี่ยวกับปัญหาการจัดการศึกษาไทย ที่ผ่านมา จะพบปัญหาสำคัญ 6 เรื่อง สรุปได้ ดังต่อไป
ปัญหาด้านการบริหารจัดการศึกษา มีการบริหารแบบรวมอำนาจไว้ส่วนกลางมากเกินไป มีองค์กรที่มีภารกิจการทำงานที่ซ้ำซ้อน เกิดความล่าช้าในทางปฏิบัติ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน
ปัญหาด้านครู ไม่มีคนเก่งเข้ามาประกอบอาชีพครู ไม่ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ ครูขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ปัญหาด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ หลักสูตรระดับต่างๆ ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงในชุมชน และก้าวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางบริบทของสังคม
ปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา มีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ด้อยประสิทธิภาพแม้ว่าจะได้รับงบประมาณจัดสรรมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
ปัญหาด้านสื่อและเทคโนโลยี ปัจจุบัน แม้จะมีเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่สื่อต่างๆ กลับมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่น้อยมากและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ปัญหาด้านระบบตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเป็นเพียงการประเมินตามนโยบาย ขาดการนิเทศให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการดำเนินงาน
จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จึงได้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคมครั้งสำคัญเพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาของไทยจากกลุ่มคนทุกฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาของชาติ บังเกิดเป็นกฎหมายการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างและพัฒนาการจัดการศึกษาของไทยภายใต้นัยแห่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นั่นคือ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
สื่อและเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับและทุกระบบของการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหลายหมวดและหลายมาตราด้วยกัน และที่สำคัญ การปฏิรูปการศึกษานั้นต้องมุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 ได้กล่าวถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 63-69) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่มีความครอบคลุม กว้างขวาง และมีความเป็นเอกภาพ ทั้งการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุน การสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กล่าวกันว่าการปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นจะต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบขั้นตอนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ครอบคลุมกระบวนการจัดการศึกษาทั้งระบบ การปฏิรูปเทคโนโลยีการศึกษาทั้งระบบสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้


การปฏิรูปความคิดของบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความคิดของผู้บริหาร ผู้ผลิตและเผยแพร่ ต้องได้รับการปฏิรูปความคิดเป็นเบื้องต้น เพราะบุคลากรเหล่านี่จะเป็นกลุ่มสำคัญของการนำเอาเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ หากบุคลากรไม่สนใจ ไม่ยอมรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง เกิดทัศนคติเชิงลบแล้ว การปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะบังเกิดขึ้นได้ยากและขาดประสิทธิภาพ
การปฏิรูปการผลิต เนื่องจากเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสื่อวัสดุอุปกรณ์และโปรแกรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ถูกผลิตหรือสร้างขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ใช้ประโยชน์ได้จริง มีกระบวนการผลิตที่สั้น กระชับ พร้อมทั้งพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือให้ทันสมัย ทำให้สื่อการศึกษามีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเรียนรู้
การปฏิรูปการเผยแพร่ ต้องมีการประชาสัมพันธ์และนำกลุ่มเป้าหมายให้รับรู้ข่าวสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ทั่วถึงและหลากหลาย เป็นระบบการเผยแพร่ที่เป็นระบบเปิด กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้จากสื่อได้โดยตรง กว้างขวาง และที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงศักยภาพผู้ใช้ ความพร้อมในปัจจัยต่างๆ พร้อมกันไปด้วย
การปฏิรูประบบตรวจสอบและประเมินผล เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพและคุ้มค่า เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนั้น ระบบดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มวางกรอบความคิดสู่การผลิตเป็นสื่อสำเร็จ เมื่อนำไปใช้ต้องมีการประเมินทั้งก่อนและหลังการใช้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องการ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ โดยดำเนินงานตามที่กำหนดเป็นกฎหมายการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ “เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” จะเป็นศาสตร์สำคัญแขนงหนึ่งของการปฏิรูปที่จะช่วยปรับปรุง พัฒนา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชาติให้บังเกิดคุณภาพและประสิทธิภาพได้ การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นฐานสำคัญของการปรับเปลี่ยนต้องส่งผลโดยตรงไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการศึกษาต้องตระหนักและช่วยกันขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานให้ก้าวสู่เป้าหมายโดยรวมได้ในอนาคต โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Myspace Layouts - DollieLove.com! Get This Myspace Layout From DollieLove.com